วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

การทำความสะอาดเบื้องต้นด้วยตนเอง


การทำความสะอาดเบื้องต้นด้วยตนเอง                                                                                                                                                                                                                                                                                                ทำได้โดยการถอดแผ่นกรองอากาศ(Filter) มาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า
แล้วใส่กลับคืน ซึ่งอาจจะทำสัปดาห์ละครั้ง หรือ เดือนละ 2 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และความสกปรก
การรักษาแผ่นกรองให้สะอาดอยู่เสมอนั้นทำให้การระบายลมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องแล้ว
ยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย

การทำความสะอาดภายในโดยช่างผู้ชำนาญ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน แต่อาจไม่บ่อยเท่ากับการทำความสะอาดด้วยตนเอง
โดยอาจจะทำ 3-6 เดือนต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการใช้งาน การล้างภายในต้องใช้ช่างผู้ชำนาญ
เนื่องจากต้องมีการถอดชิ้นส่วนบางชิ้น เช่นถอดถาดน้ำทิ้งมาล้างเพื่อให้น้ำทิ้งไหลได้สะดวก และใช้ปั๊มน้ำแรงสูงฉีดทำความสะอาดแผงคอยล์
การตรวจเช็คสภาพ เป็นการตรวจเช็คระบบทั่วไป ซึ่งโดยมากแล้วจะทำพร้อมกับการล้างภายในโดยช่างผู้ชำนาญ
• วัดความดันน้ำยาในระบบว่าเพียงพอหรือไม่
• ตรวจระบบไฟฟ้า เช่นสภาพของสายไฟ
• หยอดน้ำมันมอเตอร์พัดลมทั้งที่คอยล์ร้อน และคอยล์เย็น
• ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนหุ้มท่อน้ำยาที่เชื่อมต่อระหว่าง คอนเดนซิ่งยูนิต และแฟนคอยล์ยูนิต
ใช้เครื่องปรับอากาศอย่างไรให้ประหยัด (Energy Savin
นอกจากการใช้งานเครื่องปรับอากาศที่ถูกวิธียังมีทางhttp://www.แอร์บ้านขายดี.com
และคุ้มค่าอีกหลายวิธีดังนี้
- ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอยู่เป็นประจำเพื่อให้การระบายความร้อนทำได้สะดวก
- เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ทดแทนเครื่องเก่าที่มีประสิทธิภาพต่ำหรือใช้งานมานาน
- ลดความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ามายังบริเวณที่ปรับอากาศ โดยผ่านทางผนัง หรือหน้าต่าง หลังคา และพื้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การลดความร้อนผ่านผนัง
1.1 ผนังกระจกที่มีพื้นที่กระจกใส เป็นพื้นที่ที่ความร้อนสามารถผ่านเข้ามาในห้องได้มากที่สุด ควรป้องกันความร้อนดังนี้
- ใช้เครื่องบังแดดภายในอาคาร
- ใช้กันสาดในแนวตั้งและแนวนอน หรือการหลบแนวหน้าต่างเข้ามาภายใน
- สำหรับกระจกที่หันไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ควรติดกันสาดในแนวนอน
- ส่วนกระจกที่หันไปทางทิศเหนือและทิศใต้ ควรใช้กันสาดในแนวตั้ง
- ปลูกต้นไม้บังแดดสำหรับกระจกทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
- ใช้ผ้าม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนบังแดดภายในด้านหลังกระจก โดยเลือกใช้มู่ลี่ชนิดใบอยู่แนวนอนสำหรับสำหรับกระจกทางทิศเหนือ
หรือทิศใต้ ส่วนกระจกทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกควรใช้กระจกกรองแสงหรือสะท้อนแสง
- พยายามใช้กระจกเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของอาคาร

1.2 ผนังอาคารที่เป็นปูน
- ทาสีด้านนอกด้วยสีขาวหรือสีอ่อน หรือใช้วัสดุผิวมัน เช่น กระเบื้องเคลือบ เพื่อช่วยสะท้อนแสง
- ควรปลูกต้นไม้หรือสร้างที่บังแดด เพื่อให้ร่มเงาแก่ผนัง
- ผนังห้องห้องโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ซึ่งไม่มีเงากำบัง เป็นส่วนที่มีความร้อนมาก
ควรบุฉนวนกันความร้อนหรือใช้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ เช่น ชั้นหนังสือหรือตู้เสื้อผ้า ตั้งกั้นไม่ให้ความร้อนแผ่เข้ามาในห้องเร็วนัก
1.3 ผนังอาคารที่เป็นไม้ หากมีช่องห่างของไม้มากควรตีผนังด้านในด้วยไม้อัด เพื่อกันการผ่านของความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น